เครื่องขัดกระดาษทราย
สาระสำคัญ
เครื่องขัดกระดาทรายเป็นเครื่องที่อออกแบบมาเพื่อการตกแต่งผิวหรือขัดผิวงานไม้ให้เรียบก่อนที่จะทำสีผิวงาน
เครื่องขัดกระดาษทรายที่ผลิตขึ้นมาใช้มี 3 ชนิดด้วยกันคือ
เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน (Belt Sander) เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสั่น และ แท่นขัดกระดาษทราย ปัจจุบันเพื่อการใช้งานที่สะดวก มีประสิทธิภาพ และประหยัด
ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาจรวมเอาลักษณะเครื่องขัดทั้ง 2 ชนิดไว้ด้วยกันเรียกว่า
เครื่องขัดกระดาษทรายชนิดผสม (Belt and Disc Sander)
MAKTEC MT941 เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน |
แท่นขัดกระดาษทราย TIGER รุ่น BDS-46 |
เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสั่น MAKTEC รุ่น MT925 ทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัส |
เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสั่น MAKTEC รุ่น MT924 |
จุดประสงค์การรู้จัก เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน และ เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสั่น และ แท่นขัดกระดาษทราย
1.
บอกชนิดและขนาดของเครื่องขัดกระดาษทรายได้
2.
อธิบายส่วนประกอบของเครื่อง
ขัดกระดาษทรายได้
ขัดกระดาษทรายได้
3.
อธิบายความปลอดภัยในการใช้เครื่องขัดกระดาษทรายได้
4.
บอกชนิดของกระดาษทรายและวิธีการเปลี่ยนกระดาษทรายได้
5.
อธิบายวิธีการใช้เครื่องขัดกระดาษทรายได้
6.
อธิบายการบำรุงรักษาเครื่องขัดกระดาษทรายได้
สาระการเรียนรู้
1.
ชนิดและขนาดของเครื่องขัดกระดาษทราย
2.
ส่วนประกอบของเครื่องขัดกระดาษทราย
3.
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องขัดกระดาษทราย
4.
ชนิดของกระดาษทรายและวิธีการเปลี่ยนกระดาษทราย
5.
วิธีการใช้เครื่องขัดกระดาษทราย
การบำรุงรักษาเครื่องขัดกระดาษทราย
ชนิดและเครื่องขัดกระดาทราย
เครื่องขัดกระดาษทราย
(Sanding Machines) มี 3 ชนิดคือ เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน (Belt Sander) (Belt Sander)
ขัดกระดาษทรายแบบสั่น (Disc Sander) และ แท่นขัดกระดาษทราย การบอกขนาดของเครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน
เรียกตามความกว้างของกระดาษทราย และความยาวของกระดาษ เช่น 4 x 24 นิ้ว และ 6 x 48 นิ้ว เป็นต้น
และขนาดของเครื่องขัดกระดาษทรายแบบจานขัด
เรียกตามความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางจานขัด เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจาน 6 นิ้ว, 9 นิ้ว และ 12 นิ้ว เป็นต้น
ส่วนประกอบของเครื่องขัดกระด
1.ครอบป้องกันกระดาษทรายสายพาน (Belt Guard) ติดตั้งอยู่ด้านล่างของแท่นรองกระดาษทราย
เพื่อป้องกันกระดาษทรายและรองรับฝุ่น
2.ครอบป้องกันจานขัด (Disc Guard) ติดตั้งอยู่ด้านหลังจานขัด เพื่อป้องกันจานขัดขณะปฏิบัติงาน
3.ลูกกลิ้งตัวขับ (Driving Roller)
จะเป็นตัวหมุนขับให้กระดาษทรายและลูกกลิ้งตัวตามหมุน
4.ลูกกลิ้งตาม (Roller)
สามารถปรับเลื่อนเพื่อหย่อนและตึงกระดาษทรายสายพานและยังสามารถปรับเอียงทางด้านข้าง
เพื่อควบคุมการหมุนเคลื่อนที่ของกระดาษทรายสายพานไม่ให้เลื่อนหลุดออกจากแท่นที่รับรอง
5.ที่ปรับลูกกลิ้งตาม (Tracking)
เป็นที่ปรับเพื่อให้กระดาษทรายหมุนหรือเคลื่อนที่อยู่บนลูกกลิ้งโดยไม่เลื่อนหลุดออกจากแท่น
6.แท่นรองกระดาษทรายสายพาน
จะอยู่ระหว่างลูกกลิ้งตัวขับและลูกกลิ้งตัวตามระดับเสมอผิวด้านบนของลูกกลิ้งจะติดตั้งแผ่นกราฟไฟต์
(Graphite Coated Platren) ไว้ที่ผิวบน
เพื่อรองรับกระดาษทราย และเป็นแผ่นกั้นการเสียดสีระหว่างกระดาษทรายแท่นรอง
7.คันโยก (Tensile Handle) สำหรับเลื่อนถอยลูกกลิ้งตัวตาม
จะอยู่ทางด้านข้างของแท่นรองรับกระดาษทราย
8.รั้ว (Fence) เป็นแท่งเหล็กแบน
ติดตั้งอยู่เหนือกระดาษทรายสายพาน เพื่อเป็นอุปกรณ์บังคับไม้
9.แผ่นจานขัด (Sanding Disc) ทำด้วยอะลูมิเนียมทรงกลม
จุดศูนย์กลางต่อกับแกนมอเตอร์หน้าจานสำหรับติดกระดาษทราย
10.แท่นรองรับชิ้นงาน (Work Bench) ติดตั้งอยู่ด้านหน้าจานขัดและด้านหน้าของกระดาษทรายสายพาน
เพื่อรองรับชิ้นงานในการขัดเพื่อความปลอดภัย และสามารถปรับเลื่อนและเอียงเป็นมุมได้
11.ช่องส่งฝุ่น (Dust Port) จะติดตั้งอยู่ด้านปลายของครอบกระดาษทรายสายพานและครอบป้องกันจานขัด
เพื่อส่งฝุ่นออกจากเครื่องขัด
12.ฐานเครื่อง (Stand) ลักษณะเป็นโครงหรือเป็นตัวตู้รองรับตัวเครื่อง
13.มอเตอร์ (Motor) เป็นตัวส่งกำลังขับไปที่จานขัดและลูกกลิ้งขับ
14. สวิตช์เปิด-ปิด (Switch On-Off)
เครื่องขัดกระดาษทรายเป็นเครื่องจักรที่มีอันตรายน้อยกว่าเครื่องจักรประเภทอื่นๆแต่ก็เป็นเครื่องที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
และอาจมักเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่มีความระมัดระวังเพียงพอ
และต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดนี้
1.ตรวจสอบสวิตซ์
กระดาษทรายและอุปกรณ์ความปลอดภัยของเครื่องก่อนใช้งาน
2.เปิดเครื่อง
ควรรอให้เครื่องหมุนเต็มที่ก่อนจึงจะป้อนชิ้นงานช้าๆ และส่ำเสมอด้วยความระมัดระวัง
4.การเปลี่ยนกระดาษทรายชนิดสายพาน
ควรใส่กระดาษทรายให้ถูกต้องตามแนวลูกศรที่ปรากฏบนกระดาษทราย
และตามทิศทางการหมุนของเครื่อง
5.ควรระมัดระวังไม่ให้นิ้วมือหรือส่วนใดของร่างกายสัมผัสกับผิวกระดาษทรายขณะที่เครื่องหมุน
6.วางชิ้นงานลงบนแท่น แล้วค่อยๆ กดชิ้นงานเข้าหานกระดาษทรายอย่างช้าๆ
ไม่ควรกดชิ้นงานแรงมาก เพราะจะทำให้ผิวงานไหม้
7.จะต้องไม่ขัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือบางมากๆ
เพราะจะทำให้ชิ้นงานหลุดเข้าไปในช่องระหว่างแท่นกับกระดาษทราย
8.ปิดสวิตช์เครื่องขัดกระดาษทรายและรอให้เครื่องหยุดหมุนก่อนแล้วค่อยออกจากเครื่อง
ส่วนประกอบของกระดาษทราย
กระดาษทรายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขัดผิววัสดุ
เช่น ไม้ เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆ ให้ผิวเรียบ จะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1.เม็ดทราย
(Abrasive Grain) จะแยกตามวัสดุที่ใช้ทำมี 2 ชนิดคือ
-ทำจากหินธรรมชาติ เช่น หินควอตซ์ หินแกรนิต
และหินอิเมอร์รี
-ทำจากสารสังเคราะห์
เช่น อะลูมิเนียมออกไซด์ และซิลิคอนคาร์ไบด์
2.ตัวประสานหรือกาว (Adhesive)
นิยมใช้กาวสังเคราะห์หรือกาวยาง
3.แผ่นหลัง
(Backing) เช่น กระดาษหรือผ้า ซึ่งจะมีความหนาต่างๆ กัน
ชนิดของกระดาษทราย
กระดาษทรายบางออกได้ 2 ชนิด
ตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่
1.วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ
ได้แก่
- หินควอตซ์ มีลักษณะเป็นสีขาว
ความทนทานไม่เคยดีนัก ใช้กับงานขัดละเอียด เช่น ขัดสี ขัดไม้เนื้ออ่อน
ขนาดของเม็ดทรายบนกระดาษทราย
การขัดผิวงานนั้น จะมีทั้งการขัดหยาบและขัดละเอียด โดยเฉพาะไม้จะมีตั้งแต่การขัดหยาบ
ขัดละเอียด จนถึงขัดสีด้วย ซึ่งความหยาบและความละเอียดของกระดาษทรายนั้น
ขึ้นอยู่กับขนาดของเม็ดทราย
ซึ่งขนาดของเม็ดทรายจะคัดแยกด้วยตะแกรงแยกขนาดโดยการจัดขนาดตามจำนวนช่องตะแกรง ต่อ
1 ตารางนิ้ว การกำหนดความหยาบละเอียดของกระดาษทรายจะกำหนดเป็นหมายเลขพิมพ์ติดไว้ที่ด้านหลังกระดาษทราย
เช่น หมายเลขระหว่าง 30 ถึง 60 จะมีขนาดเม็ดทรายหยาบ หมายเลขระหว่าง 80 ถึง 100
จะมีขนาดเม็ดทรายละเอียดปานกลาง และหมายเลขมากกว่า 120 ขึ้นไปจะมีเม็ดทรายละเอียด
ตาราง ชนิดความละเอียดของกระดาษทรายและการใช้งาน
ชนิดของ
เม็ดทราย
|
สี
|
ความคงทน
|
การใช้งาน
|
หินควอตซ์
หินแกรนิต
หินอีเมอรร์รี่
|
· ขาว
· ส้มหรือแดง
· น้ำตาลแก่หรือดำ
|
· ต่ำ
· ปานกลาง
|
· ขัดด้วยมือ ไม้เนื้ออ่อน หรือขัดสี
· ขัดด้วยมือ หรือเครื่องขัดมือถือ
· ขัดไม้ทุกชนิด
· ขัดโลหะด้วยมือ
|
อลูมิเนียม
ออกไซด์
ซิลิคอนคาร์ไบด์
|
· เทา
· ดำ
|
· ค่อนข้างสูง
· สูง
|
· ขัดด้วยมือ หรือเครื่องขัดมือ
· วัสดุทุกชนิด
· ขัดด้วยมือ หรือเครื่องขัดมือถือ
· เป็นการขัดผิวครั้งสุดท้าย
|
การปฏิบัติงานด้วยเเครื่องขัดกระดาทราย เมื่อใช้งานมากๆ หรือเป็นเวลานานๆบริเวณที่ผิวของกระดาษทรายจะเสื่อมสภาพ
ไม่สามารถขัดผิวงานได้ และถ้ายังฝืนใช้งานต่อไป
อาจจะทำให้ผิวชิ้นงานเกิดรอยดำด้านเนื่องจากการเสียดสี ทำให้ผิวงานเสียหายได้การเปลี่ยนกระดาษทรายแบ่งออกตามชนิดของเครื่อง
วิธีการเปลี่ยนกระดาษทรายสายพาน
วิธีการเปลี่ยนกระดาษทรายสายพานมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ตรวจดูสวิตซ์เครื่องให้อยู่ในต่ำเหน่งปิด
2.ดันคันโยกสำหรับถอยลูกกลิ้งตัวหน้า ซึ่งอยู่ด้านข้างของเครื่อง
3.ถอดฝาครอบกระดาษทรายสายพานด้านล่างและรั้วออก
4 4.นำกระดาษทรายสายพานออกจากเครื่อง
และควรทำความสะอาดหรือดูดฝุ่นออกจากเครื่องด้วย
5.นำกระดาษทรายสายพานแผ่นใหม่เข้าตามแนวเดิม โดยต้องดูลูกศรที่แสดงอยู่ด้านหลังของกระดาษทรายให้ตรงกับทิศทางบนเครื่อง
6.ค่อยๆดันคันโยกกลับเข้าที่เดิม
เพื่อให้ลูกกลิ้งกลับต่ำแหน่งเดิม
ซึ่งจะทำให้กระดาษทรายสายพานยืดตัวและตึงพอดีกับเครื่อง
7.ประกอบรั้วและฝาครอบเข้าที่เดิม
และทดลองเปิดเครื่องให้กระดาษทรายหมุนหรือวิ่งอยู่บนแท่นรองตรงกลางว่าพอดีกับลูกกลิ้งหรือไม่
และควรปรับลูกกลิ้งเพื่อไม่ให้กระดาษทรายเลื่อนหลุดออกจากลูกกลิ้ง
1.ตรวจดูสวิตช์ให้อยู่ในตำแหน่งปิด
2.ถอดแท่นรองรับชิ้นงานและฝาครอบจานขัดออก
3.ลอกกระดาษทรายเดิมออกให้หมด
และต้องทำผิวหน้าจานขัดให้เรียบ
4. เตรียมกระดาษทรายที่ตัดเป็นวงกลม
เท่ากับขนาดของจานขัด หรือใช้กระดาษทราย
ที่มีจำหน่ายขนาดเท่ากับจานขัด ทากาวชนิดผนึกแห้ง (กาวยาง) บนด้านหลังกระดาษทรายและที่หน้าจานขัดให้ทั่ว
โดยไม่ให้หนามากเกินไป
5.รอจนกาวแห้งประมาณ 10-15 นาที (ทดลองใช้นิ้วแตะบริเวณที่ทากาวไว้
หากกาวแห้งจะไม่ติดนิ้วมือ)
6.นำกระดาษทรายที่ทากาวซึ่งแห้งแล้วติดเข้ากับหน้าจานขัด
โดยใช้ไม้อักขนาดพอเหมาะแนบ แล้วใช้แคลมป์ยึดอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
จึงเอาแคลมป์ยึดและไม้อัดออก
เป็นเครื่องขัดที่ใช้สำหรับการขัดหยาบเพื่อปรับระดับผิวไม้ขนาดกว้างๆ
หรือในงานที่จ้องการขัดพื้นผิวเรียบได้ระนาบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ตรวจสอบกระดาษทรายสายพานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
และควรให้ขนาดของกระดาษทรายเหมาะสมกับการทำงาน (การขัดหยาบหรือขัดละเอียด) พร้อมอุปกรณ์
แท่นรองรับ และรั้ว
2.เปิดเครื่องรอจนเครื่องหมุนเต็มที่ก่อน
แล้ววางชิ้นงานด้านกว้างบนกระดาษทรายและค่อยๆ กดชิ้นงานเข้าหากระดาษทรายอย่างช้าๆ
โดยใช้รั้วเป็นตัวช่วยจับชิ้นงาน
3.การขัดงานที่มีผิวโค้ง
ควรป้อนชิ้นงานทางด้านลูกกลิ้งตัวนอก กดชิ้นงานเข้าหากระดาษอย่างช้าๆ
เลื่อนชิ้นงานให้อยู่ต่ำแหน่งส่วนโค้งตามต้องการ
4.การขัดหัวไม้
ควรใช้รั้ว หรือ Miter Gauge ช่วยจับยึด
เครื่องขัดชนิดนี้เหมาะสมสำหรับงานขัดขอบไม้ที่มีความหนา งานขัดหัวไม้ที่เป็นมุมต่างๆมีขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจสอบกระดาษทราย
ให้ขนาดของกระดาษทรายเหมาะสมกับการทำงานการขัดหยาบหรือขัดละเอียด
ตรวจแท่นรองรับชิ้นงานให้ได้ฉากกับหน้าจานขัดและอุปกรณ์ต่างให้พร้อม
2.เปิดเครื่อง
รอจนเครื่องหมุนเต็มที่ก่อนจึงวางชิ้นงานลงบนแท่น แล้วป้อนชิ้นงานช้าๆทางด้านที่จานหมุนในทิศทางลง
3.การขัดหัวไม้หรือขอบไม้ที่มีมุมต่างๆ
จำนาวนมากๆ ควรตั้งอุปกรณ์ช่วยตัดไม้ (Miter Gauge) ให้ได้มุมตามต้องการก่อน ซึ่งจะทำให้ขัดงานได้แน่นอน
โดยจะต้องไม่กดชิ้นงานแรงมากเกินไป
4.การขัดมุมที่หัวไม้
ควรปรับแท่นรองรับชิ้นงานลงให้ได้มุมที่ต้องการ และควรใช้ Miter Gauge ช่วยจับชิ้นงานให้มั่นคงขึ้น
การบำรุงรักษาเครื่องขัดกระดาทราย
เพื่อให้การใช้งานเครื่องขัดกระดาทรายมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน
ควรจะต้องมีการบำรุงรักษาดังต่อไปนี้
1.ก่อนการใช้งานหรือก่อนการทำงาน
ต้องตรวจสอบกระดาษทราย ถ้ากระดาษทรายเสื่อมสภาพหรือเม็ดทรายสึกมาก ควรเปลี่ยนก่อนการใช้งานครั้งต่อไป
2.ตรวจสอบต่ำแหน่งของครอบป้องกันสายพาน
ครอบป้องกันจานขัด รั้วและหรือแท่นรองรับชิ้นงาน ให้อยู่ในสภาพพร้อมทำงาน
3.หล่อลื่น หรืออัดจาระบีในส่วนที่เป็นจุดหมุน
4.ทำความสะอาดเครื่องขัดกระดาษทรายและบริเวณเครื่องทุกครั้งหลังการทำงานหรือเลิกใช้งานประจำวัน
5.หากต้องหยุดใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ
ควรทำความสะอาดเคลือบผิวเหล็กส่วนที่เป็นสนิมด้วยผ้าชุบน้ำมันเครื่องกำจัดฝุ่นภายในเครื่อง
แล้วคลุมด้วยผ้าคลุมเครื่องขัดกระดาทราย
ขอขอบคุณ www.itoolmart.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น